สมาชิก

การพาความร้อน

http://portal.edu.chula.ac.th/lesa_cd/assets/document/LESA212/6/heat_temp/heat_temp/heat_transfer.gifhttp://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRzi4k1BIjY-mUJ_l0tjvPITyX1079jmVY7eEgRCEsau2j2DdeDhttp://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSR3UNVP8BboBs7Whhwh7ICnmJxqdNmArKB_KsGQ2cnUimreBr7
  กระบวนการถ่ายโอนความร้อนแบบการพาความร้อนเป็นปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ของพลังงานจากแหล่งอุณหภูมิสูงไปยังอุณหภูมิต่ำกว่า โดยที่โมเลกุลตัวกลางมีการเคลื่อนที่ไปด้วย ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนที่ของลมที่ผ่านหน้าขดลวดความร้อน ลมดังกล่าวก็จะมีอุณหภูมิสูงตามไปด้วย นอกจากนี้การถ่ายโอนความร้อนแบบพายังมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการผลิตอาหารหลายชนิด ไม่ว่าจะโดยตรง หรือ ในด้านการใช้ลมหรือน้ำเป็นสารตัวกลางในกระบวนการ การพาความร้อนสามารถจำแนกได้ออกเป็น 2 แบบดังนี้
1. การถ่ายเทความร้อนโดยการพาความร้อนแบบบังคับ (Forced  Convection  Heat  Transfer)

    ปริมาณความร้อนที่ถ่ายเทออกจากผิวความร้อนไปยังของไหลที่กำลังเคลื่อนที่ เราเรียกว่าการพาความร้อนแบบบังคับ  (forced convection)  โดยการเคลื่อนที่ของไหลถูกทำโดยใช้พัดลม  หรือโบลเวอร์  กลุ่มตัวแปรไร้มิติของค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน,  Nux จะเป็นฟังก์ชั่นของ Rexและ Pr คือ

                                                 http://mte.kmutt.ac.th/elearning/Thermal%20Enginering/information1_6_1/image002.gif                                                                     (1.25)

 ค่าความสัมพันธ์ที่ถูกต้องจะขึ้นอยู่กับการสมมาตรของพื้นผิวลักษณะการไหลไม่ว่าจะเป็นแบบราบเรียบ หรือแบบปั่นป่วน สภาพของชั้นขอบเขตความร้อนบนพื้นผิว ชั้นขอบเขตความร้อนโดยปกติจะใช้ที่อุณหภูมิผิวคงที่หรือฟลั๊กซ์ความร้อนคงที่